วันอังคารที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

โปรแกรมดูภาพสำหรับคนตาบอดสี

1. สถานภาพการวิจัย

บทความนี้ได้นำเสนอเกี่ยวกับการพัฒนาโปรแกรมดูภาพให้สามารถตรวจสอบ และเปลี่ยนสีของรูปภาพให้มีสีที่เหมาะสมต่อการมองเห็นของผู้ที่มีอาการตาบอดสีในลักษณะต่าง อีกทั้งมีการรวบรวมส่วนที่ใช้ในการทดสอบอาการตาบอดสีไว้ในโปรแกรม ซึ่งสามารถบอกถึงลักษณะอาการตาบอดสีของผู้ใช้งานโปรแกรมได้และจะทำให้ผู้ที่มีอาการตาบอดสีสามารถแยกแยะสีบางสีให้แตกต่างกันได้ และช่วยให้ผู้ใช้โปรแกรมทราบถึงอาการตาบอดสีของตนเองได้อีกด้วย

2.วัตถุประสงค์ของการวิจัย

Ø เพื่อช่วยให้ผู้ที่มีอาการตาบอดสีตรวจสอบอาการตาบอดสีอย่างคร่าว ๆได้ด้วยตัวเอง

Ø เพื่อช่วยให้ทำการตรวจสอบแยกประเภทของอาการตาบอดสีเพื่อแจ้งให้ผู้ทดสอบทราบผลได้

3.กระบวนการวิจัย (Process)

โรคตาบอดสีนั้นพบได้ประมาณ 8% ของประชากร แบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ กลุ่มที่เป็นตั้งแต่กำเนิด (congenitalcolor vision defects) และกลุ่มที่เป็นภายหลัง (acquired colorvision defects) ซึ่งมักพบกลุ่มที่เป็นตั้งแต่กำเนิดบ่อยกว่ากลุ่มที่เป็นภายหลัง เมื่อพิจารณาในกลุ่มที่เป็นตั้งแต่กำเนิดกลุ่มย่อยที่พบได้บ่อยที่สุด คือ กลุ่มที่บอดสีเขียว-แดงจะพบได้ประมาณ 5-8% ในผู้ชายและพบเพียง 0.5% ในผู้หญิงส่วนในกลุ่มที่เป็นภายหลังมักพบเป็นการบอดสีน้ำเงิน เหลือง

ตาบอดสีสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท คือ

Ø ตาบอดสีแดง (Protanopia)

เป็นการบกพร่องตรงเซลล์ รูปโคนที่เซลล์รับแสงสีแดงหรือมีสารที่ดูดกลืนความยาวคลื่น ผู้ที่มีอาการบอดสีนี้จะสับสนในเรื่องสีระหว่างสีแดงและสีดำหรือสีเทาซึ่งจะทำให้มองไม่เห็นไฟสีแดงของสัญญาณจราจรโดยที่ยังสามารถแยกสีแดงออกจากสีเขียวและสีเหลืองได้โดยอาศัยความสว่างของสีแต่ก็ไม่สามารถแยกได้ทุกสี

Ø ตาบอดสีเขียว (Deuteranopia)

เป็นการบกพร่องตรงเซลล์ รูปโคนที่เซลล์รับแสงสีเขียวหรือมีสารที่ดูดกลืนความยาวคลื่นกลางๆตาบอดสีเขียวจะยากในการหาลักษณะเด่นระหว่างสีเขียวกับสีแดงที่มีสีน้ำเงินปนเข้าไปด้วยผู้ที่มีอาการตาบอดสีเขียว จะมีปัญหาในการแบ่งแยกสีเหมือนกับผู้ที่มีอาการตาบอดสีแดง แต่ไม่มีความผิดปกติทางด้านความสว่างของสี

Ø ตาบอดสีน้ำเงิน (Tritanopia)

ตาบอดสีน้ำเงินเป็นไดโครเมทชนิดหนึ่งที่บกพร่องตรงเซลล์รูปโคนที่เป็นเซลล์รับแสงสีน้ำเงินหรือมีสารที่ดูดกลืนความยาวคลื่นสั้นๆ ตาบอดสีน้ำเงินเป็นชนิดของตาบอดสีที่พบได้ยากที่สุด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น